วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เคล็ดลับการเตรียมพื้นดินก่อนทำการเทพื้นคอนกรีตบนดิน

เคล็ดลับการเตรียมพื้นดินก่อนทำการเทพื้นคอนกรีตบนดิน

การเทพื้นคอนกรีตบนดิน อย่างลานพื้นคอนกรีตรอบบ้าน ที่ไม่รวมพื้นชั้น  1 ในบ้าน หรือ เทพื้นคอนกรีตบนดิน อย่าง พื้นถนน ซึ่งเป็นลานคอนกรีตกว้างๆ โดยเป็นระบบพื้นที่ที่อาศัยดินเป็นตัวรับน้ำหนักโดยตรง ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ในการวางบนคานหรือวางบนเข็มที่ไม่อยู่ในขอบข่ายนี้  เป็นการทำงานที่จะต้องมีขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีตบนดินที่ถูกต้องตามมาตรฐาน แผ่นพื้นจึงจะไม่เกิดรอยแตกร้าวแบบกระจายทั่วไป และทำให้สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ต้องการ ขั้นตอนในการเทพื้นคอนกรีตบนดินจะต้องผ่านกระบวนการใดบ้างมาดูกัน

1.การเตรียมพื้นดินก่อนทำการเทพื้นคอนกรีตบนดิน
การคำนวณปริมาณของการเทพื้นคอนกรีตบนดิน ให้วัดจากพื้นที่ที่จะเทคอนกรีตจริงภายหลังจากตั้งแบบและบดอัด ที่ไมควรทำคือไม่ควรคำนวณจากที่เขียนเอาไว้  เพราะการวัดความหนาของพื้นที่ที่จะเทพื้นคอนกรีตบนดินควรวัดหลายๆ ตำ แหน่งเพื่อให้คำนวณปริมาณคอนกรีตได้อย่างถูกต้อง และหากมีการคำนวณคอนกรีตที่มีขนาดน้อยกว่าความเป็นจริง จะทำให้ต้องสั่งคอนกรีตเพิ่มเติมภายหลัง แน่นอนว่าจะทำให้เสียเวลาและอาจเกิดปัญหาคอนกรีตเทแบบไม่ต่อเนื่อง รวมทั้ง คอนกรีตที่เทใหม่ก็จะไม่ประสานเข้ากับคอนกรีตที่เทไปแล้วนั่นเอง  ส่วนการเตรียมพื้นดินจะต้องมีการบดอัดให้แน่น แล้วรองด้วยทรายจากนั้นบดอัดให้แน่นอีกครั้ง เพราะหากอัดไม่แน่นอาจเกิดการยุบตัวของทรายลงเมื่อทำการเทพื้นคอนกรีตบนดิน และจะทำให้ปริมาณคอนกรีตที่เทใช้ในปริมาณที่มากกว่าที่คำนวณไว้

2.กำหนดความกว้างของพื้นในการเทพื้นคอนกรีตบนดิน
ก่อนทำการเทพื้นคอนกรีตบนดิน จะต้องกำหนดแนวของรอยต่อก่อน เพื่อลดการยืดรั้งของแผ่นพื้นที่เกิดจาก การหดตัวเวลาที่คอนกรีตแห้งโดยรอยต่อของพื้น จะเป็นรอยต่อระหว่างพื้นส่วนที่ติดกับผนังหรือพื้นส่วนที่ติดกับขอบทาง หรือส่วนที่ติดกับเสา เรียกว่า รอยต่อแยกอิสระ ( isolation joint ) เป็นรอยต่อที่ไม่ต้องการให้โครงสร้างมีการเชื่อมต่อกันเพื่อลดปัญหาการยืดรั้งจากการทรุดตัวไม่เท่ากัน  ซึ่งจะมีรอยต่อที่แบ่งพื้นออกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อลดความรุนแรงจากการยืดรั้งเพราะเกิดจากการหดตัวแบบแห้งของคอนกรีตที่เรียกว่า รอยต่อการหดตัว (Contraction joint ) เป็นระยะห่างของรอยต่อที่ขึ้นอยู่กับความหนาของพื้น ควรทำแนวรอยต่อพื้นให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีขนาดไม่เกินตามที่ระบุ

3.วิธีทำรอยต่อแบบแยกอิสระเมื่อทำการเทพื้นคอนกรีตบนดิน

การทำรอยต่อแยกอิสระ (isolation joint) หลังจากที่ทำการเทพื้นคอนกรีตบนดิน ซึ่งจะสามารถทำรอยต่อได้ง่ายๆโดยการใช้วัสดุกั้น อย่างแผ่นพลาสติก แผ่นกระดาษอัด หรือ ไม้อัดแผ่นโฟมบางๆ เพียงแค่ตัดวัสดุกั้นเป็นแถบยาว ที่มีความหนามากกว่าความหนาแผ่นพื้นที่จะเทประมาณ 5 ซม. แล้วนำวัสดุที่ตัดไว้ไปติดกับกำแพงหรือเสโครงสร้างที่เตรียมไว้จะทำเป็นรอยต่อ โดยใช้เทปกาวยึดให้แน่นตลอดแนวความยาวที่จะเทแผ่นพื้นคอนกรีตบนดิน เมื่อเทคอนกรีตเสร็จและพื้นแห้งดีแล้ว จึงทำการตัดวัสดุกั้นในส่วนที่เหลือด้านบนออก  
เทพื้นรอบบ้าน หน้างาน บางใหญ่ นนทบุรี










วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการเตรียมตัวทำคอนกรีตผสมเสร็จที่ได้ระดับมาตรฐาน

ขั้นตอนการเตรียมตัวทำคอนกรีตผสมเสร็จที่ได้ระดับมาตรฐาน

ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องใช้คอนกรีตเป็นส่วนผสมด้วยกันทั้งนั้น   ซึ่งจะมีแบบทั้งคอน กรีตผสมเสร็จ และคอนกรีตสดที่ผสมด้วยมือ แต่จุดประสงค์เดียวกันคือใช้เป็นวัสดุสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้างบ้าน อาคาร รวมทั้งสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งการเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จ  จะต้องมีการวางแผนการขนส่งล่วงหน้าและในการสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจะต้องระบุ ค่ากำลังอัด (Strength) และ ค่ายุบตัว (Slump) ของคอนกรีต รวมถึงลักษณะการใช้งานที่ต้องการให้ผู้ผลิตทราบ ที่สำคัญคือควรสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมากกว่าที่คำนวณไว้เล็กน้อย ประมาณครึ่งคิว สำหรับเอาไว้เผื่อในกรณีที่มีระดับของพื้นแตกต่างกัน

ความแตกต่างของคอนกรีตผสมเสร็จ และคอนกรีตสด
สำหรับคอนกรีตสดนั้นจะสามารถใช้งานได้ทันที แต่ปัจจัยที่มีผลต่อคอนกรีตสด ก็จะมีความแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของคอนกรีตที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมหรือการจะนำคอนกรีตมาใช้งาน ทำให้การผสมคอนกรีตสดจึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญใช้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แต่คอนกรีตผสมเสร็จจะแตกต่างจากคอนกรีตที่ผสมเองตามสถานที่ก่อสร้าง เพราะเป็นคอนกรีตที่ผสมโดยผู้ผลิตที่โรงงาน ข้อดีคือไม่ต้องซื้อปูน หิน ทราย แล้วนำมาผสมเองด้วยมือ หรือทำการโม่ผสมคอนกรีต ซึ่งการใช้คอนกรีตผสมเสร็จสามารถบรรทุกมาในรถขนส่งคอนกรีตโดยนำมาเทที่หน่วยงานก่อสร้างได้ทันทีที่จะต้องใช้งาน

คอนกรีตที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
คอนกรีตผสมเสร็จ เป็นคอนกรีตทีนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะเป็นคอนกรีตที่ได้รับการผสมตามสัดส่วนที่ต้องการจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ที่โรงงาน และได้มีการจัดส่งต่อไปยังหน่วยงานก่อสร้างต่างๆ จากรถผสมคอนกรีต ในสภาพที่ยังสดแต่ไม่แข็งตัวและพร้อมใช้งานทันที ทำให้ช่างก่อสร้างไม่ต้องมาผสมเองให้เสียเวลา ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับงานก่อสร้างที่มีเวลาจำกัด และมีจำนวนคนงานน้อย ที่สำคัญคือเป็นงานที่ต้องการใช้คอนกรีตคุณภาพสูง

การเลือกค่ากำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ 
โดยทั่วไปแล้วบริษัทผู้ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ จะจัดจำหน่ายคอนกรีตตามกำลังอัดของคอนกรีตตามที่ระบุไว้  โดยลูกค้าสามารถ เลือกใช้ค่ากำลังอัดได้ตามความเหมาะสม ซึ่งในการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาเทในบริเวณสถานที่ก่อสร้าง จำเป็น ต้องเลือกคุณภาพกำลังอัดให้เหมาะกับงานที่วิศวกรได้ออกได้ออกแบบไว้  ส่วนมากสั่งตามค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่มีอายุ 28 วัน

การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่ได้มาตรฐาน
ในส่วนของขบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จที่มีมาตรฐาน ก่อนจะถูกลำเลียงนำมาผสมกันส่วนใหญ่จะเริ่มจากการตรวจ สอบคุณสมบัติของส่วนผสมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หินหรือทราย ที่จำเป็นต้องเลือกวัสดุจากแหล่งที่มีคุณภาพดี สำหรับมาจัดเก็บเป็นกองโดยยังไม่ให้มีการผสมกัน ส่วนปูนซีเมนต์และน้ำยาผสมคอนกรีตนั้นก็ต้องถูกบรรจุเก็บไว้อย่างมิดชิดเพื่อเตรียมไว้ก่อนผสมในขั้นตอนต่อไป


ขบวนการผลิตคือการนำหิน ทราย ปูนและซีเมนต์ มาทำการชั่งให้ได้น้ำหนักสัดส่วนตามต้องการ โดยคำนวณสภาพความชื้นของหินทรายทุกครั้ง เพราะอาจมีความชื้นปะปนอยู่ ซึ่งอาจอยู่ในสภาพที่ชื้นทำให้ต้องมีการปรับน้ำหนักของหินทรายและน้ำที่ใช้ให้เหมาะสมก่อนทุกครั้ง น้ำและน้ำยาผสมคอนกรีต จะต้องใช้เครื่องวัดปริมาตรในการตวง ก่อนที่นำเข้าไปผสมในเครื่องตามเวลาที่กำหนดในระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อความสม่ำเสมอและรวดเร็ว  เมื่อได้คอนกรีตผสมเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะทำการลำเลียงไปยังหน่วยงานก่อสร้างต่างๆ ต่อไป  
เทพื้นลานกว้างและถนนทางเข้า หน้างาน บางพลีน้อย สมุทรปราการ 



วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

หากจะเทพื้นโรงงานจะต้องทำอย่างไรบ้าง

การเทพื้นหลายคนอาจจะคุ้นหูหรือคุ้นตากันอยู่แล้วนะครับเพราะการเทพื้นบ้านทั่วไปสามารถพบเห็นได้ไม่ยากในบ้านที่กำลังปรับปรุงหรือสร้างใหม่แต่ถ้าเป็นการเทพื้นโรงงานอาจจะพบเห็นได้ไม่บ่อยนักหากไม่ได้เกี่ยวข้องกันโดยตรงกับงานด้านนี้วันนี้เรามาดูกันแบบคร่าวๆ ครับว่าการเทพื้นโรงงานนั้นเขามีลักษณะการเทอย่างไรบ้าง การเทพื้นสำหรับโรงงานใหม่ งานลักษณะแบบนี้เป็นสิ่งที่ผู้รับเหมาชอบอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเทพื้นโรงงานใหม่ เทพื้นโกดังใหม่ เทพื้นบริเวณการทำงานภายในโรงงานใหม่ หรืออะไรก็ตามที่เป็นการเทพื้นใหม่ทั้งหมด สาเหตุที่พวกเขาชอบกันมากเพราะว่าไม่ต้องมานั่งแก้งานอะไรมากมาย มาถึงพื้นที่ปรับพื้นที่นิดๆ หน่อยๆ ก็เทได้เลยการเทพื้นโรงงานทับของเก่าโรงงานเมื่อใช้งานไปนานๆ แน่นอนครับว่าพื้นที่ใช้สอยภายในโรงงานนั้นย่อมถูกใช้งานอย่างหนัก ก็เป็นเรื่องปรกติที่พื้นอาจจะเกิดอาการทรุดตัวหรือแตกร้าวจากการกดทับบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีการเทพื้นโรงงานทับของเก่าเพื่อแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น โดยงานการเทพื้นโรงงานลักษณะนี้ช่างจะต้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะต้องวิเคราะห์ปัญหาเก่าให้ ดีก่อนจึงจะเริ่มทำการเทพื้นทับลงไปการเทพื้นโรงงานเพื่อต่อเติม
หลังจากที่กล่าวถึงการเทพื้นโรงงานใหม่กับเทพื้นโรงงานทับของเก่าไปแล้ว
ต่อมาเราจะกล่าวถึงการเทพื้นโรงงานเพื่อต่อเติมขยับขยายเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับโรงงาน
ในส่วนนี้จะไม่ต่างกันมากกับการเทพื้นโรงงานใหม่ เพียงแต่ก็ต้องระวังในเรื่องของระดับ
กับความเข้ากันได้ของพื้นเก่ากับพื้นใหม่ถ้าเทติดกัน
การเทพื้นโรงงานตามต้องการ
การเทพื้นโณงงานแบบตามต้องการ ก็คือการเทพื้นเพื่อใช้สอยในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป้นทำลานจอดรถ
ทำสนาม หรือพื้นที่พิเศษต่างๆ
ของโรงงานซึ่งการเทแบบนี้จะต้องใช้สัดส่วนในการผสมคอนกรีตไม่เหมือนกัน
ขึ้นอยู่กับว่าเททำเป็นพื้นที่อะไร มีความกว้าง ยาว หน้าแค่ไหน
การเทพื้นโรงงานในลักษณะพิเศษ
พื้นที่ภายในโรงงานนั้นมีการใช้งานหลากหลายนะครับ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เครื่องจักร พื้นที่สารเคมี
พื้นที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสูงเช่นเย็นจัด ร้อนจัด เป็นต้น
ซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นที่พิเศษที่ไม่เหมือนกับพื้นที่ใช้งานทั่วไป
ดังนั้นคอนกรีตที่นำมาเทพื้นโรงงานก็จะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่
การเทพื้นโรงงานนั้นเมื่อนำมาเทียบกับงานเทพื้นบ้านทั่วไปถือได้ว่าค่อนข้างต่างกัน
เพราะการเทพื้นโรงงานจะยากกว่า ใหญ่กว่าเยอะ อีกทั้งพื้นที่ทำงานยังมีลักษณะที่ค่อนข้างเฉพาะ
ดังนั้นราคาในการเทพื้นโรงงานจึงสูงกว่าการเทพื้นบ้านทั่วไปครับ










วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

เทพื้นปูน เทพื้นรอบบ้าน พื้นลานจอดรถ พื้นตู้คอนเทนเนอร์ ทรุด

     หลายๆ คนคงมีบ้างนะครับที่จะเจอกับปัญหาเทพื้นปูน เทพื้นรอบบ้าน พื้นลานจอดรถ พื้นตู้คอนเทนเนอร์ ทรุด หรืออาจจะเจอของคนรู้จักที่เกิดปัญหานี้
และก็ต้องมีแน่ที่โวยผู้รับเหมาหรือคนที่มาสร้างบ้านว่าทำยังไงให้บ้านทรุด แต่ใจเย็นๆ กันก่อนนะครับ เรามาดูถึงสาเหตุก่อนว่าทำไมบ้านถึงทรุดสาเหตุที่ทำให้บ้านหรือลานจอดรถที่เทปูนเอาไว้ทรุดพังเสียหายนั้นหลักๆก็มาจากการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของพื้นดินนั่นเองซึ่งเป็นการทรุดตัวตามธรรมชาติและก็ไม่ใช่ว่าจะหยุดมันได้ครับ การทรุดตัวยังคงมีเรื่อยๆไม่ว่าที่ไหนก็ทรุดแต่จะทรุดมากทรุดน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความยาวของเสาเข็มรวมไปถึงความลึกที่ตอกยิ่งยาวมาก ตอกลึกมากยิ่งทรุดน้อยเพราะเสาเข็มจะลงไปยังชั้นดินที่แข็งมากๆแต่ถ้าบ้านหรือลานจอดรถไม่มีเสาเข็มรองรับ แค่เทหรือปูไปบนพื้นดินเฉยๆ ก็จะมีโอกาสทรุดมากกว่าโดยเฉพาะลานจอดรถนี่จะเห็นได้บ่อย เพราะส่วนใหญ่จะนิยมเทพื้นที่ลานจอดรถบนพื้นดินไปเฉยๆไม่มีการตอกเสาเข็งรองรับก่อน เมื่อพื้นดินทรุดก็มีโอกาสที่ลานจอดรถทรุดตัว ฉีกขาด แตกร้าวและยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็นชัดขึ้นแต่เรายังพอชะลอหรือป้องกันได้ดังนี้วางแผ่นพื้นบนคานก่อนที่จะลงมือเทปูนทำลานจอดรถ ก็ให้เอาแผ่นพื้นวางบนคานแทนการวางบนพื้นดินเปล่าๆ วิธีนี้จะช่วยให้พื้นของลานจอดรถแข็งแรงพอๆ กับพื้นบ้านที่มีการตอกเสาเข็ม ผลดีที่ตามมาคือมีโอกาสน้อยที่จะเกิดการแตกร้าวอีกหลังจากเทปูนทำพื้นที่จอดรถเสร็จและเวลาผ่านไปนานๆ แต่ก็มีข้อเสียอยุ่คือมันจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของโครงสร้างรับน้ำหนักที่เอามาทำพื้นที่จอดรถเพิ่มขึ้นมา และพื้นที่อื่นที่อยู่นอกตัวบ้านหรือลานจอดรถก็จะยังคงทรุดตามปรกติเพราะไม่มีส่วนรับน้ำหนักมาคอยกันไว้ใช้เสาเข็มหกเหลี่ยมโดยตอกแบบปูพรมให้มีระยะห่างกัน 1 เมตรระหว่างแต่ละเสาเพื่อให้เสาเข็มช่วยรับน้ำหนักพื้นลานจอดรถ ในส่วนที่ติดกับตัวบ้านก็ให้เอาโฟมมาขั้นระหว่างกลางเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยแยกที่ไม่สวยงามหลังจากเทปูนพื้นลานจอดรถเสร็จแล้ว จากนั้นเอาหิน กรวด มาตกแต่งให้สวยงามตามต้องการขณะเทพื้นลานจอดรถเทปูนลงพื้นดินตามปรกติไปเลยโดยที่ไม่ต้องพึ่งคาน ไม่ต้องใช้เสาเข็มใดๆ ทั้งสิ้น แต่ก่อนเทก็จะต้องมีการอัดพื้นดินให้แน่นมากกว่าปรกติ แล้วค่อยลงมือเทพื้นลานจอดรถ โดยก่อนเทก็ควรจะเอาโฟมมาคั่นกลางระหว่างพื้นลานจอดรถกับตัวบ้านหลังจากเทเสร็จจะได้ไม่เจอปัญหาพื้นแตกร้าวไม่สวยงาม
 ตัวอย่างผลงาน เทพื้นข้างบ้าน หน้างาน ศรีนครินทร์ กรุงเทพ









วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

พื้นซีเมนต์หรือพื้นคอนกรีตที่บ้าน แตกร้าวหรือพื้นมีระดับต่ำเกินไป

ถ้าหากว่าพื้นซีเมนต์หรือพื้นคอนกรีตที่บ้านของคุณชุดรุดเสียหาย แตกร้าวหรือพื้นมีระดับต่ำเกินไปและต้องการเทพื้นใหม่เพื่อซ่อมแซมหรือเสริมเพิ่มให้สูงขึ้น
สามารถทำได้นะครับโดยมีวิธีการดังนี้
เริ่มแรกก่อนจะเทพื้นใหม่ทัยของเก่าจะต้องเตรียมพื้นเก่าให้เรียบร้อยก่อนเพื่อให้สามารถประสานเข้ากับพื้นที่เททับไปใหม่ได้
โดยให้ใช้เครื่องมือที่มีความคมจำพวกสกัด ชะแลง หัวค้อนเก่าๆหรือขวานมาทำการทุบกระกระทุ้งผิวของพื้นเก่าให้แตกออก หรือเป็นหลุมเล็กๆ ใหญ่ๆให้ทั่วพื้นที่จะเททับ โดยให้แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร ถ้าตรงไหนมีส่วนแตกร้าว
ก็ให้ถมเข้าไปด้วยทรายแล้วอัดให้แน่นหลังจากปรับผิวพื้นเรียบร้อยก็ผสมคอนกรีตที่จะเททับโดยใช้อัตราส่วนปูน 1 ส่วน ทรายหยาบ 2 ส่วน หิน 3 ส่วน สำหรับจะเทพื้นให้มีความหนาตั้งแต่ 4 เซนติเมตรขึ้นไป แต่ถ้าจะเทให้หนาเพียง 3 - 4เซนติเมตรก็ใช้ปูนซีเมนต์ 1 ส่วนและทรายหยาบ 3 ส่วนคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วค่อยผสมน้ำจนเหนียวหลังจากที่สกัดผิวพื้นเก่าจนเป็นหลุมตามต้องการแล้ว
ก็ให้กำหนดระดับว่าจะให้ผิวหน้าใหม่สูงแค่ไหนด้วยการตอกหลังระแนงเหรือเอาเหล็กเสียบเอาไว้เพื่อบอกระดับไว้ตรงด้านข้าง โดยให้ห่างกันประมาณ 1.5 เมตร หลังจากที่เทปูนจนได้ระดับแล้วจะเอาหลักออกหรือจะตอกให้จมไปเลยก็ได้ จากนั้นก็ราดน้ำเพื่อชะล้างสิ่งสกปรกต่างๆออกไปจากพื้นและยังช่วยให้พื้นเก่าชุ่มน้ำด้วยหลังจากทำความสะอาดผิวหน้าแล้วก็ผสมปูน 1 ส่วนเข้ากับทราย 2ส่วนและผสมให้ออกเหลวเล็กน้อยแล้วท่ราดพื้นเก่าให้ทั่วให้คลุมผิวเก่าจนมีความหนาประมาณครึ่งเซนติ
เมตรเป็นอย่างน้อย จากนั้นจึงเอาคอนกรีตที่ผสมแล้วมาเทลงจากด้านในออกมาด้านนอก
ขณะเทก็เอาไม้สามเหลี่ยมยาวมาคอยปาดหน้ารวมถึงใช้เกรียงไม้ช่วยลูบตามจนผิวของพื้นที่เทเรียบ
จากนั้นทิ้งเอาไว้ 4 - 5 ชั่วโมงจนผิวหมาดก้เอาเกรียงไม้มาปาดตกแต่งผิวหน้าอีกครั้งให้เรียบเนียน
ถ้ารู้สึกว่าผิวหน้าแห้งไปให้พรมน้ำช่วย แล้วทิ้งไว้ในที่ร่มจนครบหนึ่งวัน แล้วก็หมั่นราดน้ำตลอด 7
วันจากนั้นพื้นปูนใหม่จึงจะใช้รับน้ำนหักได้แล้ว แต่ถ้าจะให้แข็งแรงเต็มที่ต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
รูปผลงานเทพื้นคอนกรีตรอบบ้าน รังสิต ปทุมธานี คลอง6 พร้อมเสาเข็มหกเหลื่ยม